ชวนเลือก “บัวอลูมิเนียม” ในแบบฉบับสถาปนิก
เพื่อให้งานผนังในที่ปลูกสร้างของคุณแลดูสะอาด สวยงาม จำเป็นที่จะต้องใช้ “บัวอลูมิเนียม” เข้ามาปิดรอยเชื่อมต่อส่วนของพื้นและผนังส่วนล่างสุด ซึ่งนอกจากความสวยงามแล้ว บัวอลูมิเนียมยังช่วยป้องกันผนังจากรอยสกปรกเมื่อต้องถูทำความสะอาดพื้น ทำให้ผนังไม่เสียหาย ตลอดจนปัจจุบันการดีไซน์ทำเพื่อเก็บสายอินเตอร์เน็ต สาย LAN ร่วมด้วย สำหรับเคสที่ไม่ติดตั้งบัวเชิงผนังอลูมิเนียม แน่นอนว่าแนวผนังด้านล่างก็จะสกปรกได้ง่าย
วันนี้เราจึงจะพาทุกคนมาเรียนรู้ข้อมูลการเลือกบัวอลูมิเนียม ในแบบฉบับสถาปนิกที่เชี่ยวชาญ
ทำไมต้องเลือกบัวอลูมิเนียม
ถ้าย้อนกลับไปแต่เดิมงานบัวเชิงผนังจะถูกสร้างจาก “ไม้” เป็นวัสดุหลัก เพราะหาได้ง่าย พบได้ทั่วไป แต่ทุกวันนี้บัวพื้นจากไม้นิยมนำมาใช้น้อยลง เนื่องจากเมื่อใช้งานไปแล้วระยะหนึ่งจะพบปัญหาไม้หดตัว แห้ง และทำความสะอาดได้ยาก จึงเกิดการออกแบบบัวเชิงผนังอลูมิเนียม ขึ้นมาเป็นวัสดุใหม่ใช้งานแทนไม้ ด้วยมีคุณสมบัติ ดังนี้
- บัวอลูมิเนียม เป็นวัสดุเนื้อโลหะให้ความเงา สวยงาม
- บัวอลูมิเนียม ทนต่อปัญหาการเกิดสนิม
- บัวอลูมิเนียม สีไม่ซีดจาง ไม่กรอบแตก
- บัวอลูมิเนียม สามารถทำความสะอาดได้ง่ายกว่างานไม้ ทำให้ไม่เกิดคราบสกปรกสะสม
ด้วยคุณสมบัติที่กล่าวมา กอปรกับดีไซน์ที่ทันสมัย การติดตั้งทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก สามารถจบงานได้ไว ทำให้บัวเชิงผนังอลูมิเนียมได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน โดยที่สถาปนิกเองก็ยังแนะนำว่าควรใช้
การเลือกบัวเชิงผนังจะต้องพิจารณาเรื่องใดบ้าง
1. พิจารณาจุดที่ต้องติดตั้ง โดยทั่วไปจะมี 3 จุดหลัก ได้แก่
- บัวบน เพื่อปิดรอยต่อผนังกับฝ้าเพดาน โดยส่วนนี้สามารถตกแต่งเพิ่มเติมได้ด้วยไม้นอบเพิ่มลวดลาย
- บัวกลาง เพื่อตกแต่ง เพิ่มมิติให้ผนังบ้านสวยงามขึ้น
- บัวล่าง เพื่อปิดรอยต่อผนังกับพื้น
2. พิจารณาขนาดหน้ากว้าง โดยอ้างอิงจุดที่ติดตั้ง
- บัวพื้น 6 – 10 เซนติเมตร
อย่างไรก็ตามขนาดหน้ากว้างขึ้นอยู่กับสไตล์ ความชอบ และขนาดความสูงของห้องนั้นๆ ร่วมด้วย
3.พิจารณาวัสดุของบัวเชิงผนัง เพราะนอกจากบัวอลูมิเนียมที่เสนอไปในข้างต้นแล้ว บัวเชิงผนังยังมีวัสดุอื่นอีก เช่น
- บัวกระเบื้อง ควรเลือกผิวกระเบื้องเรียบ แล้วอาจติดคิ้ว PVC จะทำให้การใช้งานทนทานและช่วยประหยัดงบ หรือจะใช้บัวกระเบื้องติดคิ้วอลูมิเนียม ก็ทำให้ดูสวยงามขึ้นได้ แต่ข้อเสียในระยะยาวกระเบื้องอาจมีปัญหาหลุดได้เช่นกัน
- บัวพีวีซี ทำมาจากพลาสติกพีวีซี จึงมีความเหนียว ทนทาน
- บัวไฟเบอร์ซีเมนต์ สร้างจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เส้นใยเซลลูโลส และทรายซิลิก้า ข้อดีคือ ไม่ติดไฟ ไม่หดตัว ทำสีได้
- บัวโพลีสไตรีน สร้างจากพลาสติกชนิดโฟมหนาแน่นสูง บางรุ่นสามารถทำสีลายไม้ได้ทำให้ได้งานสวยคล้ายไม้ ข้อดีคือไม่ทำให้เกิดเชื้อรา และมีน้ำหนักเบากว่าวัสดุบัวเชิงผนังอื่นๆ
นอกจากการเลือกประเภทของบัวผนังอลูมิเนียม บัวกระเบื้องต่างๆ แล้ว อีกเรื่องที่ควรพิจารณาในแบบฉบับสถาปนิก คือการเลือกหน้าตัดบัวเชิงผนัง เพราะอาจเลือกแบบลายไม้ หรือเลือกโทนสีที่เข้ากับห้องได้อย่างลงตัว และทำให้จบงานบัวเชิงผนังได้อย่างสวยงามมากยิ่งขึ้นนั่นเอง