“จมูกบันได” หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

 

เชื่อว่าหากไม่ใช่บุคคลที่ต้องทำงานหรือศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัสดุก่อสร้างโดยเฉพาะ หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้จักกับองค์ประกอบที่เรียกว่า “จมูกบันได” ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจว่าองค์ประกอบนี้สำคัญอย่างไร ทำไมต้องมี วันนี้เราจึงจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับมันไปพร้อมกัน 

จมูกบันไดคืออะไร

จมูกบันได เป็นองค์ประกอบที่เปรียบเสมือนกับปลอกปากกาหรือหมวกกันน็อก เนื่องจากเป็นองค์ประกอบที่ต้องนำมาติดตั้งในส่วนของปลายขั้นบันได หรือบริเวณที่เรียกว่าปลายลูกนอน โดยทั่วไปจมูกบันไดจะถูกจัดให้ยื่นออกมาจากแนวของลูกตั้งราว 1 นิ้ว

 

จมูกบันไดมีเพื่ออะไร

จุดประสงค์ที่ต้องติดตั้งจมูกบันได ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนที่ใช้บันไดลื่นล้มระหว่างใช้งานบันไดขึ้น – ลง ทำให้การใช้งานบันไดปลอดภัยมากขึ้น และจมูกบันไดยังช่วยป้องกันไม่ให้วัสดุของตัวบันได ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้อง ไม้ หรือวัสดุอื่น แตกร้าว ผุพังได้ง่าย ตลอดจนถือเป็นการตกแต่งเก็บขอบมุมของบันไดให้ดูเรียบร้อย สวยงามอีกด้วย

 

วัสดุของจมูกบันไดสำเร็จรูป

จมูกบันไดมีวัสดุให้เลือกหลากหลายขึ้นอยู่กับดีไซน์บันได โดยทั่วไปที่นิยมใช้ มีดังนี้

1. จมูกบันไดอลูมิเนียม 

เหมาะสำหรับการติดตั้งกับพื้นบันไดทั่วไป ยกตัวอย่าง เช่น บันไดหินขัด หินล้าง ทรายล้าง กระเบื้องเซรามิค หินอ่อน กระเบื้องยาง สำหรับข้อดีของจมูกบันไดอลูมิเนียม คือ ช่วยให้ความปลอดภัยเมื่อเดินขึ้นลงบันได ป้องกันวัสดุที่ทำบันไดแตกร้าว โดยจมูกบันไดอลูมิเนียมเหมาะสำหรับติดตั้งเข้ากับบันไดโรงเรียน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนอาคารสำนักงานและอาคารอื่นทั่วไป นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งย่อยประเภทของจมูกบันไดอลูมิเนียมได้อีก เช่น

 

2. จมูกบันไดสแตนเลส

เหมาะสำหรับติดตั้งได้ทั้งภายในและนอกอาคาร เพื่อให้งานพื้นบันไดมีความปลอดภัยในการใช้งานและยังคงความสวยงาม ด้วยคุณสมบัติของจมูกบันไดสแตนเลสทำให้ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาขอบกระเบื้องแตกร้าว ถูกกระแทกได้ อย่างไรก็ตามจมูกบันไดประเภทนี้มีข้อจำกัดในการติดตั้งคือ เมื่อติดตั้งเสร็จควรเช็ดด้วยผ้าสะอาดทันที จากนั้นควรเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับกรดและด่างที่มีความเข้มข้น ในกรณีที่หลังการติดตั้งพบปัญหาเรื่องคราบหินปูน สิ่งที่ไม่ควรทำคือการใช้ของมีคมมาขัดหรือถูลงบริเวณดังกล่าว

3. จมูกบันไดกระเบื้อง 

เหมาะสำหรับการติดตั้งหุ้มบันได ใช้เป็นกระเบื้องสำหรับมุมบันได และยังเหมาะสำหรับใช้มุมสระว่ายน้ำ และบันไดทั่วไปร่วมด้วย โดยสามารถแบ่งตามยี่ห้อได้ เช่น

 

ประเภทของการทำจมูกบันได

ประเภทของการทำจมูกบันไดนั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบ อาทิ 

  • การจัดยื่นจมูกของบันไดผ่านการใช้วัสดุปิดผิวลูกนอน
  • การจัดจมูกบันไดผ่านการเซาะร่องบริเวณปลายลูกนอนในแนวขวาง
  • การจัดจมูกบันไดเพื่อปิดขอบของปลายขั้นบันไดผ่านวัสดุกันลื่น

 

4. จมูกบันได uPVC

เหมาะสำหรับใช้ลดอุบัติเหตุการขึ้นลงบันได เพราะป้องกันไม่ให้ลื่นง่าย ผ่านคุณสมบัติพิเศษของ uPVC ที่ให้ความรู้สึกสบาย นุ่มเท้าที่สัมผัส และด้วยการออกแบบที่ทันสมัยจึงสามารถใช้งานทำจมูกบันไดได้ทั้งภายในและภายนอก ข้อดีของจมูกบันไดประเภทนี้ คือการผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Super Hygiene ทำให้สามารถยับยั้งราดำ ตะไคร่น้ำ ตลอดจนการเกิดแบคทีเรียต่างๆ ได้

5. จมูกบันไดไม้

เหมาะสำหรับติดตั้งป้องกันไม่ให้เดินสะดุดลื่นล้มได้ทั้งภายในบ้าน ภายในตัวอาคารต่างๆ เนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติเรียบเนียน คุณภาพดี ข้อดีคือสามารถเลือกสีสันและสวดลายที่มีความสวยงามได้อย่างหลากหลายตามต้องการ

 

ขั้นตอนการติดตั้งจมูกบันได

จมูกบันไดสามารถติดตั้งได้ผ่านขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 ให้เลือกจมูกบันได แล้วจึงเลือกวัสดุสำหรับนำมาใช้ในการติดตั้ง โดยเงื่อนไขคือพิจารณาเลือกให้มีหน้ากว้างที่เหมาะสมกับพื้นที่งาน

ขั้นตอนที่ 2 ให้ใช้วิธีเริ่มต้นจัดการฉาบปูนในส่วนใต้จมูกบันได จากนั้นจึงจะไปฉาบบนพื้นที่ ซึ่งต้องการจะติดตั้ง เสร็จแล้วจึงจัดการกดส่วนของจมูกบันไดทับลงไปบนปูนที่ได้ฉาบเอาไว้ เพื่อให้เกิดการยึดเกาะที่ดี

ขั้นตอนที่ 3 ให้กดจมูกบันไดจากนั้นเลื่อนขยับไปมา เพื่อให้ส่วนขาของจมูกบันไดยึดอยู่กับส่วนปูนที่ได้ฉาบไว้

ขั้นตอนที่ 4 ให้ฉาบปูนเพิ่มลงไปให้ทั่วทั้งพื้นที่ จากนั้นจึงติดวัสดุกระเบื้องหรือวัสดุอื่น ให้ชิดและเสมอส่วนของจมูกบันได เสร็จแล้วจัดการยาแนวเพื่อเก็บงานให้เรียบร้อย

 

สิ่งที่ควรจะต้องระมัดระวังหลังการติดตั้งจมูกบันได

เมื่อจัดการติดตั้งเสร็จจะต้องทำความสะอาดทันที เพราะหากทิ้งระยะเวลาเอาไว้นาน จะทำให้เกิดปัญหาคราบขาวปรากฏขึ้นมาได้ และขั้นตอนในการทำความสะอาดไม่ควรเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีค่ากรดหรือด่างที่เข้มข้นจนเกิดไป สุดท้ายควรงดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดที่คม แหลม หรือหยาบ ทั้งนี้ก็เพื่อให้วัสดุจมูกบันไดคงความสวยงามไปได้อีกนานหลังการติดตั้ง

 

จมูกบันไดเกิดปัญหาคราบขาวเพราะน้ำปูนแก้ไขอย่างไร

สำหรับจมูกบันไดอลูมิเนียม ให้ดูแลรักษาด้วยการนำน้ำเปล่ามาผสมเข้ากับน้ำยาล้างจาน เพื่อให้เกิดการเจือจางแล้วจึงนำผ้ามาชุบน้ำ บิดจนผ้าแห้งหมาด แล้วจึงนำไปเช็ดและถูลงบนรอยคราบที่เกิดจนคราบเหล่านั้นจางลงไป จากนั้นจึงค่อยเช็ดด้วยผ้าที่แห้งอีกครั้ง โดยจะต้องเช็ดให้แห้งสนิท เสร็จแล้วปิดจบด้วยการหยดน้ำยาขัดเคลือบสีรถลงบนผ้าจากนั้นเช็ดลงบนวัสดุอลูมิเนียมอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนนี้ทำเพื่อให้วัสดุเกิดความเงา สวยงาม

สำหรับจมูกบันไดสแตนเลส ให้แบ่งการดูแลปลีกย่อยออกเป็น 2 เคส ได้แก่ เคสที่ใช้จมูกบันไดสแตนเลสผิวด้านหรือผิวปิดลาย ให้จัดการคราบขาวด้วยการซื้อกระดาษทรายยูริเทนเนอร์เบอร์ 1000 มาชุบน้ำ แล้วจึงนำมาขัดลงบนรอยที่เกิดการเปื้อนแบบเบามือ โดยจำเป็นจะต้องขัดให้เป็นแนวเดียวกันกับเส้นผิวปิดลาย จากนั้นจึงเช็ดด้วยผ้าแห้งให้สะอาด สำหรับเคสต่อมาที่ใช้จมูกบันไดสแตนเลสผิวมันเงา ให้เลือกลูกหนูมาขัด แต่จะต้องเปลี่ยนใบขัดให้เป็นลูกผ้ายีนขนาด 4 นิ้ว แล้วจึงนำมาขัดช่วงที่มีรอยเปื้อยอย่างช้าๆ จนรอยจางไป แล้วจึงหยดน้ำยาขัดเคลือบสีรถใส่ผ้าแล้วเช็ดลงบนสแตนเลส เพื่อให้วัสดุเกิดความเงา สวยงามดังเดิม

 

เคล็ดลับการติดตั้งจมูกบันไดตามศาสตร์วิชาฮวงจุ้ย

ตามศาสตร์วิชาฮวงจุ้ยนั้น แนะนำว่าวัสดุที่เลือกสำหรับใช้เป็นจมูกบันได ควรเป็นวัสดุอลูมิเนียม สแตนเลส กระเบื้อง หรือไม้ เน้นวัสดุที่มีพื้นผิวหยาบ เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการลื่นตกบันไดได้แล้ว วิชาฮวงจุ้ยยังเชื่อว่าคนตกบันไดมักจะเหยียบบริเวณปลายลูกนอนก่อน ดังนั้นจึงควรใช้จำนวนขั้นบันไดให้เป็นเลขคู่ และด้วยบันไดทำหน้าที่เชื่อมทางขึ้นลงระหว่างชั้น ตามศาสตร์วิชาฮวงจุ้ยที่ดีแนะนำว่าควรทำบันไดให้เวียนซ้าย เพื่อจับราวตอนลงได้ 

ส่วนของข้อมูลในทางกฏหมายที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยในการขึ้นลงของผู้ใช้งานบันได กำหนดว่าบันไดในอาคารที่ใช้อยู่อาศัย จะต้องมีความกว้างสุทธิขั้นต่ำมากกว่า 80 เซนติเมตร ส่วนของช่วงสูงจะต้องไม่เกิน 3 เมตร ลูกตั้งจะต้องน้อยกว่า 20 เซนติเมตร ส่วนของลูกนอนเมื่อหักลบส่วนที่เหลื่อมแล้ว จะต้องคงความกว้างไว้ให้ได้มากกว่า 22 เซนติเมตร โดยจะต้องมีพื้นที่หน้าบันไดที่มีความกว้างและยาวมากกว่าความกว้างบันได เพื่อให้ขณะเดินขึ้นหรือลงมีพื้นที่ให้พัก ก่อนจะลงสู่พื้นที่ซึ่งเตรียมก้าวลงอย่างปลอดภัย

 

คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดตั้งจมูกบันได

สำหรับบันไดที่เป็นงานไม้ หากต้องการติดตั้งจมูกบันได แนะนำว่าอาจใช้เทปกาวกันลื่นมาติดตั้งแทนได้ ปัจจุบันเทปกาวเป็นอีกทางเลือกของการป้องกันปัญหาบันไดลื่น โดยเฉพาะบันไดไม้ที่ลื่นง่าย อาจเลือกเทปกาวเรืองแสงหรือเทปกาวกันลื่นสะท้อนแสงมาใช้

นอกจากจมูกบันไดที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างและใช้งานบันไดให้มีความปลอดภัยแล้ว ความปลอดภัยของบันไดยังต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่อไปนี้ร่วมด้วย

  • ใช้วัสดุลูกนอนบันไดที่สามารถป้องกันการลื่นได้ โดยเน้นดีไซน์ที่มีความถูกต้อง
  • ดีไซน์ขนาดของชั้นบันได ในระยะตั้ง ลูกตั้ง ระยะยาว ลูกนอน ซึ่งกำหนดความชันของบันไดให้มีความเหมาะสม
  • ความสูงของราวจับบันได จะต้องคำนึงถึงขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางและ Parameter ราวบันได ตลอดจนขนาดความห่างของช่องว่างแผงราวบันได โดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็กเล็ก
  • ความชันคงที่ของขนาดชั้นบันได เรื่องนี้สำคัญเพราะหากมีค่าคลาดเคลื่อนของก้าวบันไดที่ไม่คงที่จะส่งผลทำให้ก้าวเท้าพลาดจนล้มตกบันไดได้
  • การดีไซน์บันไดที่ดีจะต้องดีไซน์ให้เข้ากับความสูงเฉลี่ยของผู้ใช้งานและดีไซน์ให้สามารถใช้งานได้กับคนทุกวัยจึงจะถือว่าดีที่สุด
  • ดีไซน์ให้มีชานสำหรับพักเท้าตามข้อกำหนดของกฏหมาย
  • คำนึงถึงความั่นคงแข็งแรงตามหลักวิศกรรม อย่างน้อยจะต้องไม่โยกหรือสั่นคลอน

 

สุดท้ายนี้ไม่ว่าจะเลือกใช้วัสดุของจมูกบันไดประเภทใด อย่าลืมว่าระบบโครงสร้างการรับน้ำหนักของบันไดเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน และในระยะยาวเมื่อใช้งานจมูกบันไดไปนานๆ การรักษาทำความสะอาดอย่างถูกวิธีตามการดูแลวัสดุจมูกบันไดที่เลือกใช้จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งจะทำให้จมูกบันไดคงอายุการใช้งานและความสวยงามไปได้นานๆ